Sign up now to save your progress and more!
The Five Precepts of Buddhism

The Five Precepts of Buddhism

Advanced Nonfiction Culture

ศีลห้าข้อในศาสนาพุทธ

เชื่อว่าคนไทยหลายคน เคยได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับศีลห้าข้อกันมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยทั่วไปแล้ว ศีลห้าเป็น{หลักธรรม}พื้นฐานที่คนไทยหลายคนเรียนรู้กันตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ในรายวิชาพระพุทธศาสนาที่สอนในโรงเรียน รวมถึง{อาจจะ}เคยได้ท่องจำจากหนังสือสวดมนต์ และกล่าวตามพระสวดมนต์เวลาไป{ทำบุญ}ที่วัด

ศีลห้า เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของ{ชาวพุทธ}ที่ยึดถือกันมาเป็นเวลานาน รวมถึงมีความสำคัญและบทบาทที่ความเกี่ยวข้องในด้านของกฎหมายอีกด้วย กล่าวได้ว่าศีลห้านั้น เกี่ยวข้องกับชีวิตเราทั้งทางโลกและทางธรรมเลยก็ว่าได้

คำว่า “ศีล” มีความหลายและที่มาที่หลากหลาย บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า ศีล มาจากคำว่า ศีรษะ ที่แปลว่า ยอด บางแหล่งข้อมูลก็กล่าวว่า ศีล มาจากคำว่า สีละ แปลว่า ปกติ แต่หากจะอธิบายอย่างเข้าใจง่าย ๆ ศีล ก็คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานที่ทำให้คนเราเกิดความสงบสุขทั้งกายใจ และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขนั่นเอง

ศีลห้าข้อ{ได้แก่}

ข้อที่หนึ่ง ห้ามฆ่าสัตว์ เบียดเบียนชีวิต{ผู้อื่น}

ข้อที่สอง ห้ามลักทรัพย์ ขโมยทรัพย์สินของ{ผู้อื่น}

ข้อที่สาม ห้ามประพฤติผิดใน{กาม}

ข้อที่สี่ ห้ามกล่าววาจาเท็จ โกหก หลอกลวง{ผู้อื่น}

ข้อที่ห้า ห้ามดื่มสุรา ของมึนเมา และ{สิ่งเสพติด}ต่าง ๆ

ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ การรักษาศีลห้าข้อนั้น นอกจากจะทำให้สังคมสงบสุขแล้ว ยังส่งผลบุญให้แก่ผู้รักษาศีลเองด้วย โดยอานิสงส์จากการประพฤติตัวเป็นคนดีตามศีลห้ามีดังนี้

ศีลข้อที่ 1 เว้นจากการฆ่าสัตว์ จะทำให้เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย และทำให้มีอายุยืนยาว

ศีลข้อที่ 2 เว้นจากการลักทรัพย์ จะทำให้เป็นคนที่มีทรัพย์สินเงินทอง ไม่มีความยากจน

ศีลข้อที่ 3 เว้นจากการประพฤติผิดใน{กาม} จะส่งผลเป็นผู้มีเสน่ห์และเป็นที่รักของคนทั่วไป ไม่พลัดพรากจากคนและของที่ตนรัก

ศีลข้อที่ 4 เว้นจากการพูดโกหก จะส่งผลให้เป็นคนมีคำพูดที่{น่าเชื่อถือ} ผู้คนให้ความเคารพ

ศีลข้อที่ 5 เว้นจากการดื่มสุราเมรัย จะส่งผลให้มีปัญญาดี มีสติมั่นคงอยู่เสมอ เป็นผู้มี{ความรู้} และเป็นผู้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต

นอกจากนี้ หากผู้ใดรักษาศีลห้าแล้วนั้น ยังเชื่อกันว่าจะทำให้ชาติภพถัดไป ไม่ต้องพบกับเรื่องทุกข์ และเป็นพื้นฐานในการสะสมบุญให้แก่ตนเองไปเรื่อย ๆ จนไปสู่การบรรลุนิพพานได้

แม้กระทั่งกฎหมายในสังคมนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็ล้วนมีรากฐานมาจากคำสอนในศาสนา กฎหมายไทยไม่ว่าจะบัญญัติอยู่ในรูปแบบของ พ.ร.บ. ประมวลกฎหมาย เนื้อหาสาระของกฎหมายในหลายบทบัญญัติ ต่างมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับข้อห้ามในศีลห้าสอดแทรกอยู่ ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

ศีลข้อหนึ่ง เว้นจากฆ่าสัตว์ และเบียดเบียนชีวิต{ผู้อื่น}

ในประมวลกฎหมายอาญามีบัญญัติในเรื่องของความผิดที่เกี่ยวกับการกระทำต่อชีวิต{ผู้อื่น}ในลักษณะที่เป็นความผิดทางกฎหมายโดยมีความสำคัญอยู่ตั้งแต่มาตรา 288 ถึงมาตรา 294 ซึ่งโทษสูงสุดในการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายคือประหารชีวิต ที่ถูกบัญญัติอยู่ในมาตรา 289

ศีลข้อสอง ห้ามลักทรัพย์ ลักขโมย

ในประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติไว้โดยแยกเป็นฐานความผิดต่างๆ เช่น ลักทรัพย์ วิ่งราว กรรโชก ปล้น ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร ฯลฯ ซึ่งความผิดในส่วนนี้มีโทษจำคุกสูงสุดที่ยี่สิบปี

ศีลข้อที่สาม ไม่ประพฤติผิดใน{กาม}ผิดลูกเมีย{ผู้อื่น}

ในประมวลกฎหมายอาญาได้มีบัญญัติข้อห้าม เช่น เรื่องการพรากผู้เยาว์ ที่ไม่ได้หมายถึงแค่การนำผู้เยาว์ที่ไม่เกิน 15 ปี หรือ 17 ปี ไปเพื่อการกระทำชำเราทางเพศเท่านั้น แต่แค่พรากไปจากผู้ปกครองก็ถือว่ามีความผิดแล้ว รายละเอียดในส่วนนี้จะปรากฏอยู่ในมาตรา 317-320 ส่วนความผิดที่เกี่ยวกับการกระทำทางเพศโดยตรงเช่น ค้าประเวณี อนาจาร ข่มขืน ซึ่งมีการบัญญัติในกรณีที่แตกต่างกันอยู่ในหลายมาตรา ได้แก่มาตรา 276 – 287/2 โทษสูงสุดอยู่ที่จำคุกยี่สิบปีหรือในบางกรณีอาจมีโทษถึงประหารชีวิต

ศีลข้อสี่ ห้ามโกหก และพูดเท็จ

ในประมวลกฎหมายอาญา ความผิดในข้อนี้อยู่ในส่วนของความผิดต่อเจ้าพนักงานในด้านความยุติธรรม เช่น การแจ้งความเท็จ , การให้การเท็จ , เบิกความเท็จ ,นำสืบเท็จ ที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 172-180 หากผู้ใดกระทำความผิดอาจมีโทษจำคุกสูงสุดอยู่ที่เจ็ดปี

ศีลข้อห้า เว้นจากการดื่มสุรายาเมา

มีพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน โดยให้ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การรักษาศีลห้านั้น จริงอยู่เป็นการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา แต่ก็เห็นได้ชัดว่ามีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข