Sign up now to save your progress and more!
Traditional Thai Wedding Ceremonies

Traditional Thai Wedding Ceremonies

Advanced Nonfiction Culture

ขั้นตอนพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย

พิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่สำคัญและมีความหมายทางอย่างมากในวัฒนธรรมของประเทศไทย

การแต่งงานตามธรรมเนียมไทยนั้น มีความสวยงาม มีขั้นตอนและรายละเอียดของพิธีการแต่งงานก็มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

{คู่บ่าวสาว}จะต้องเตรียมตัวและศึกษาเกี่ยวกับพิธีการเพื่อให้ครบถ้วนและตระหนักถึงความหมายของแต่ละขั้นตอน ในบทความนี้เราจะศึกษาขั้นตอนของพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย ตั้งแต่เริ่มต้นจนไปถึงขั้นตอนสุดท้าย

ขั้นตอนพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย

การ{สู่ขอ}: เป็นการเจรจาขอลูกสาวจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง โดยจะมีผู้ใหญ่ที่เป็นคนเฒ่าคนแก่หรือผู้รับรองในตัวฝ่ายชาย มาเป็นผู้{สู่ขอ}แทน และจะมีการพูดคุยถึงการจัดงาน สินสอด และรายละเอียดข้อตกลงต่าง ๆ

การปลูกเรือนหอ: เรือนหอ คือที่อยู่อาศัยสำหรับ{คู่บ่าวสาว} โดยอาจจะเป็นเรือนหอที่สร้างขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเป็นบ้านหลังปัจจุบันของเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว {แล้วแต่}ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน

การหมั้น: เป็นการจัดพิธีการมอบของหมั้นเพื่อเป็นการยืนยันสัญญาว่าจะแต่งงานกัน ในงานหมั้นแบบเรียบง่าย ไม่มีการจัด{พิธีรีตรอง}หรือขบวนแห่ยิ่งใหญ่ หรือการ{รดน้ำสังข์}อะไรทั้งนั้น ส่วนใหญ่จะเตรียมเพียงแค่ชุดหมาก พลู สำห{รับไหว้}ญาติผู้ใหญ่ และเตรียมของหมั้นตามที่ได้ตกลงกันในพิธี หรืออาจจะมีการเตรียม{พาน}หมากและคนที่เราเคารพ คนรู้จัก และ{เพื่อน}มาเข้าร่วมก็ได้ ตามความประสงค์ของทั้งสองฝ่าย การจัดงานหมั้นมักจะถูกขึ้นอย่างเรียบง่าย

วันแต่งานจริง

  1. {ทำบุญ}{ตักบาตร}: เป็นพิธีกรรมทาง{ศาสนาพุทธ} ในตอนเช้าจะมี{พระสงฆ์}{เจริญพระพุทธมนต์} {คู่บ่าวสาว}{ตักบาตร}เลี้ยงพระ โดย{นิยม}{นิมนต์}{พระ}จำนวน 9 รูป เป็น{เสมือน}การ{ทำบุญ}ร่วม{ชาติ} ตักบาตรร่วมขัน

{ป.ล.} มีความเชื่อตลก ๆ ที่ว่า ขณะตักบาตร {คู่บ่าวสาว} หากใครเป็นคนจับ{ทัพพี}อยู่ด้านบน เชื่อว่าจะเป็น{ผู้นำ}ครอบครัว บางคนมองว่าเป็นเรื่องตลก แต่บางคนก็เชื่ออย่างจริงจัง

  1. แห่ขันหมาก: ขบวนขันหมากจะประกอบด้วย เจ้าบ่าว จะมีเถ้าแก่ และพ่อแม่ ตามด้วยขบวนขันหมาก ซึ่งมีขันหมากเอก ขันหมากโท ขบวนสินสอดทองหมั้น ที่มี{ใบเงินใบทอง} {ใบนาค} กลีบกุหลาบ กลีบดาวเรือง กลีบบานไม่รู้โรย {ดอกมะลิ} {ดอกรัก} ข้าวตอกดอกไม้ ขบวนขนม ผลไม้ และต้นกล้วย ต้นอ้อย และมี{อาหารคาว} ขนมหวานอื่น ๆ บางขบวนอาจมี{กลองยาว} หรือเปิดดนตรีเพื่อสร้างความสนุกสนาน เพิ่ม{สีสัน}ให้กับขบวนขันหมาก

  2. {ประตูเงินประตูทอง}: เป็นช่วงเวลาแห่งการรอคอยของญาติพี่น้อง คนสนิท {เพื่อน}สุดรักของฝ่ายเจ้าสาว ที่จะพากันมากั้น{ประตูเงินประตูทอง} โดยอาจจะใช้เข็มขัดเงิน เข็มขัดทอง สร้อยเงิน {สร้อย}ทอง หากเจ้าสาวคนไหนมี{เพื่อน} หรือญาติพี่น้องเยอะ ก็ต้องใช้เวลามากหน่อยกว่าที่จะผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ เจ้าบ่าวก็ได้{ปาด}เหงื่อกันบ้าง โดยเจ้าบ่าวจะมีเถ้าแก่ หรือพ่อแม่ถือซองเป็นค่าผ่านทางเพื่อจะเข้าไปรับตัวเจ้าสาว ยิ่งประตูใกล้เจ้าสาวเท่าไหร่ เหมือนเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานคือ เจ้าบ่าวต้องจ่ายหนักมากขึ้นเท่านั้น

  3. ฝ่ายเจ้าสาวและนับสินสอด: เมื่อแห่ขันหมากผ่าน{ประตูเงินประตูทอง}เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนที่จะต้องนำ{พาน}สินสอด และของทั้งหมดมาวางเรียงไว้ พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะเปิด{พาน}สินสอด{เพื่อ}นับสินสอดพอเป็นพิธี ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายก็จะช่วยกัน{โรย}ข้าวตอก ดอกไม้ ถั่ว งา ข้าวเปลือก {ใบเงินใบทอง} ที่บรรจุมาใน{พาน}ขันหมากเอกลงบนสินสอด และแม่ของฝ่ายเจ้าสาวก็จะห่อสินสอดด้วยผ้าพร้อมกับแบกขึ้นบ่าตามประเพณี

  4. {พิธีรับไหว้}: พิธีแห่งการฝากเนื้อฝากตัวของ{คู่บ่าวสาว}ต่อผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย การไหว้ญาติผู้ใหญ่และพ่อแม่นั้น จะต้องก้มกราบ 3 ครั้งไม่แบมือ ส่วนญาติคนอื่นให้กราบ1ครั้งไม่แบมือ เมื่อก้มกราบแล้วให้ส่ง{พาน}ธูปเทียนแพให้ผู้ใหญ่ ท่านจะรับไว้และผูกข้อมือด้วยสายสิญจน์ เพื่อเป็น{สิริมงคล}และเป็นเสมือนการรับเป็นคนในครอบครัว พร้อมกับให้พรและซองเงินเพื่อเป็นขวัญถุงให้กับ{คู่บ่าวสาว}

  5. การสวมแหวน: การสวมแหวนมักมาพร้อมกับฤกษ์ที่เหมาะสมของทั้งสองฝ่าย หรือหากไม่ได้มีฤกษ์เฉพาะที่ทางผู้ใหญ่ได้ดูไว้ให้ ก็จะถือฤกษ์ 09.09 น. ที่ถือกันว่าเป็นฤกษ์ดีให้เกิดความเจริญก้าวหน้า โดยให้ฝ่ายชายสวมแหวนให้กับฝ่ายหญิงเป็นอันดับแรก และหลังจากนั้นฝ่ายหญิงจะไหว้หรือกราบที่ตักของฝ่ายชาย และจะสวมแหวนให้ฝ่ายชาย พร้อมกันถ่ายรูปเป็นที่ระลึกคู่กัน สำหรับแหวน ไม่ได้มีกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ว่าจะต้องใช้แหวนประเภทใด ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย มีทั้งแหวนแบบเกลี้ยงและแหวนเพชรที่นิยมกันในปัจจุบัน

  6. {รดน้ำสังข์}: {รดน้ำสังข์}วันแต่งงาน คือการที่{คู่บ่าวสาว}ได้รับคำอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และแขกผู้มาร่วมงาน โดยใช้น้ำที่บรรจุอยู่ในหอยสังข์ ซึ่งเป็นสิ่งมงคลและศักดิ์สิทธิ์ รดไปยังมือของ{คู่บ่าวสาว} พร้อมกับกล่าวคำอวยพรให้{คู่บ่าวสาว}มีแต่ความสุข สงบร่มเย็น ครองรักกันอย่างยาวนาน และมีชีวิตแต่งงานที่{ราบรื่น}

  7. ส่งตัวเข้าหอและปู{ที่นอน}: พิธีร่วมเรียงเคียง{หมอน}หรือ{พิธี}ปู{ที่นอน} จะเป็นพิธีต่อเนื่องจาก{รดน้ำสังข์}หาก คู่ที่มีฤกษ์ยามในช่วงเช้าหรือคู่ที่ฤกษ์ยามสะดวกอยากทำ{พิธี}ให้เสร็จในช่วงเดียวกัน และ{พิธี}ปู{ที่นอน}เป็นความเชื่อของคนไทยว่าผู้ที่มาปูเตียงควรเป็นคู่ที่มีชีวิตคู่{มั่นคง}ยาวนานเป็นที่เคารพนับถือ โดยผู้ที่จะทำ{พิธี}นี้จะต้องอาบน้ำ{ชำระ}กายให้สะอาด

  8. ฉลองมงคลสมรส: งานฉลองมงคลสมรสจะมี 2 เวลาที่ได้รับความนิยม โดยอาจจะ{จัดเลี้ยง}หลังจากพิธีทุกอย่างเรียบร้อย ในช่วงเที่ยง หรือบางคู่อาจจะไปเลี้ยงฉลองในช่วงเย็น โดยการ{จัดเลี้ยง}ที่นิยม ได้แก่ ค็อกเทล {โต๊ะจีน} และบุฟเฟต์ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการ{จัดเลี้ยง}อื่นๆ เช่น การนั่ง{รับประทาน}อาหารร่วมกัน(Sit-Down Dinner) หรือ อาหารชุด บางคู่อาจจะมีงานเต้นสนุก ๆ หลังจากการ{งานเลี้ยง}เพื่อเป็นการร่วมสนุกกับ{เพื่อน} ๆ ของทั้งสองฝ่าย